พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ 2560

 พ.ร.บ.พิร์คืร 



พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มีเพื่อกำหนดความผิดในการกระทำที่มี“ระบบคอมพิวเตอร์” เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์นี้ เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์วางตัก คอมพิวเตอร์พกพา แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ และสมาร์ทโฟน รวมถึงระบบต่าง ๆ ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบควบคุมไฟฟ้า น้ำประปา ธนาคาร ฯลฯ    เราต่างใช้อุปกรณ์เหล่านี้ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม แน่นอนว่าย่อมมีกลุ่มหรือบุคคลที่ใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการกระทำความผิด หรือกระทำความผิดผ่านระบบเหล่านี้ เช่น ขโมยข้อมูล ป่วนข้อมูลและระบบให้เสียหาย การกระทำเหล่านี้ถือเป็นเรื่องใหม่ทุกวันนี้คนจำนวนมากใช้อินเทอร์เน็ตเป็นดังห้องสมุดขนาดใหญ่

โดยสรุปแล้ว ทุกวันนี้เราเลี่ยงไม่พ้นระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่รอบตัวเรา และนั่นทำให้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เป็นกฎหมายที่ใกล้ตัวเรามากเช่นกัน


พ.ร.บ.พ์ 60 มีบัคัช้ล้

ถ้ายังจำกันได้ถึงการผลักด้น พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบเมื่อเดือนธันวาคม เมื่อปีที่ผ่านมา (2559) และได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 มกราคม ล่าสุด มีผลบังคับใช้แล้วในวันที่ 24 พ.ค.นี้
เตือนความจำกันสักหน่อย เพื่อการใช้ออนไลน์อย่างถูกกฎหมาย สำหรับสาระสำคัญที่หลายคนควรพึงระวังใน พ.ร.บ.ว่าด้วยกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับ 2มีสาระสำคัญจำง่ายๆ ดังนี้

พิ่คุ้รัย์สิปั
อีกหนึ่งมาตรการที่ประชาชนควรรู้ เพราะนอกจาก พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550 จะมีมาตรการปิดเว็บไซต์ในกรณีที่ผิดกฎหมายเกี่ยวข้องกับสถาบันหรือความมั่นคงแล้ว ทว่าพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560 ได้เพิ่มเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาเข้าไปด้วย โดยครอบคลุมทุกโซเชียลมีเดีย เช่น ไลน์ เฟซบุ๊ก ยูทูป และอื่น ๆ หากพบการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาสามารถยื่นเรื่องยังเจ้าพนักงานกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้ทำการปิดเว็บไซต์ได้ทันที เพื่อป้องกันในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา และยกระดับประเทศไทยให้หลุดจากบัญชีการค้าที่เฝ้าจับตาเป็นพิเศษ (Priority Watch List : PWL)

นอกจากนี้ การปิดเว็บไซต์มีการเพิ่มอีกหนึ่งเงื่อนไข จากเดิมที่ปิดเว็บไซต์ได้เมื่อผิดกฎหมายเท่านั้น แต่พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560 เพิ่มเติมว่าปิดเว็บไซต์ได้แม้ไม่ผิด หากพบว่า "ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี" โดยการปิดเว็บไซต์จะมีการตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองมา 9 คน ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากแต่ละสายอาชีพ เข้ามาดูแลและส่งเรื่องให้กับรัฐมนตรี รวมถึงส่งเรื่องให้ศาลพิจารณาเป็นผู้ปิดเว็บไซต์

"พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560 สามารถพูดได้ว่า เป็นกฎหมายที่พร้อมรับมือกับโซเชียลมีเดีย เนื่องจาก 10 ปีก่อนหน้านี้ โปรแกรมไลน์ เฟซบุ๊ก  ยูทูป กูเกิล ยังไม่ได้รับความนิยมมากเท่าตอนนี้ จึงต้องมีการแก้ไขตัวกฎหมาย เพื่อให้รองรับกับปัญหาที่เกิดขึ้น ส่วนเรื่องของประโยคที่ว่าขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีนั้น หมายถึงอะไรบ้างจะมีการกำหนดกันอีกครั้ง"

คุ้รัข่ป้กั
นายณัฐ พยงค์ศรี นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ให้ความเห็นถึงประเด็นการเปลี่ยนแปลงมาตรา 14 ในพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560 ว่า เนื่องจากโลกออนไลน์มีการแพร่กระจายข่าวสารอย่างรวดเร็ว และอาจทำให้เกิดข่าวลือต่าง ๆ ที่ไม่เป็นความจริง โดยเฉพาะการบิดเบือนข้อมูล เช่น การสร้างข่าวปลอมเพื่อหลอกให้ประชาชนแชร์ข่าวผิด ๆ หรือจะเป็นการแพร่ไวรัสก็ตามแต่ ซึ่งพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560 ครอบคลุมต่อการเปิดรับข่าวสารที่จะคุ้มครองประชาชนอย่างแท้จริงนอกจากนี้ ยังมีอีกมาตราที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดคือ มาตรา 16 ซึ่งเดิมเขียนไว้ว่าการตัดต่อแก้ไขภาพผู้มีชีวิตอยู่เท่านั้นถึงจะมีความผิด แต่ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560 ระบุเพิ่มเติมไว้ว่า หากการเผยแพร่หรือตัดต่อภาพผู้เสียชีวิตทำให้ทายาทและครอบครัวเสื่อมเสียเกียรติ ก็สามารถฟ้องร้องได้“พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560 ไม่ได้เหมือนกฎหมายจราจรที่ต้องมีเครื่องหมายบังคับให้ทำตาม เพียงแต่การใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560 ให้นึกถึงว่าเราจะทำอะไรก็ตามอย่าไปละเมิดสิทธิ์คนอื่น พยายามอยู่ในขอบเขต หากทำอะไรที่เริ่มรู้สึกว่าผิดศีลธรรมให้ยับยั้งไว้ก่อน เพื่อไม่ให้มีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560" นายณัฐ กล่าวทิ้งท้ายนี่เป็นส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560 ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ดังนั้นการรู้กฎกติกาการใช้งานไว้ก่อนจึงทำให้มีโอกาสที่จะทำความผิดได้น้อยลง




รุ13 ข้สำคัจำง่พ.ร.บ.พ์ 60

1. การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
2. ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
3. ส่ง Email ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
4. กด Like ได้ไม่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ยกเว้นการกดไลค์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เสี่ยงเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม
5. กด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพ์ฯ โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3
6. พบข้อมูลผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา แต่ไม่ใช่สิ่งที่เจ้าของคอมพิวเตอร์กระทำเอง สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ หากแจ้งแล้วลบข้อมูลออกเจ้าของก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมาย เช่น ความเห็นในเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมไปถึงเฟซบุ๊ก ที่ให้แสดงความคิดเห็น หากพบว่าการแสดงความเห็นผิดกฎหมาย เมื่อแจ้งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อลบได้ทันที เจ้าของระบบเว็บไซต์จะไม่มีความผิด
7.สำหรับ แอดมินเพจ ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น เมื่อพบข้อความที่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ เมื่อลบออกจากพื้นที่ที่ตนดูแลแล้ว จะถือเป็นผู้พ้นผิด
8. ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชนได้
9. การโพสเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ต้องปิดบังใบหน้า ยกเว้นเมื่อเป็นการเชิดชู ชื่นชม อย่างให้เกียรติ
10. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียเชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ญาติสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย
11. การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น มีกฏหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหา เอาผิดผู้โพสต์ได้ และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
12. ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ
13. ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดี อวยพร ไม่ผิด ถ้าไม่เอาภาพไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หารายได้

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่มีผลบังคับใช้แล้ว ซึ่งยังมีอีกหลายประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ดังนั้นจึงควรรู้กฎกติกาการใช้งานไว้ก่อน ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้เราเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมายได้




CR : https://youtu.be/KEe5BmUsXx4

  คุข้มู  

ความคิดเห็น